โครงการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาของที่ระลึกอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี

DSpace/Manakin Repository

โครงการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาของที่ระลึกอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี

Show full item record

Title: โครงการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาของที่ระลึกอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี
Author: ทองมณี, ประจักษ์; ทรงปัญญา, มาริญา
Abstract: โครงการวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาแนวทางการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก สาหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางการนาอัตลักษณ์ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทมาใช้ในการออกแบบกราฟิกเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 2) ออกแบบ ของที่ระลึกสาหรับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท 3) สอบถามความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ผู้วิจัยได้ทาการออกแบบขึ้นมาใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี จานวน 2 ท่าน และนักออกแบบจานวน 1 ท่าน แบบสอบถามความคิดเห็นที่ต่อผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี อายุ 15- 40 ปี จานวน 100 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กระจายออกเป็นพื้นที่ กว้าง แสดงให้เห็นถึงความสามารถของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รูปของภาพเขียนตาม เพิงถ้า เพิงหิน และมนุษย์สมัยประวัติศาสตร์ได้ดัดแปลงใช้เป็นศาสนสถานที่สาคัญ โดยสถานที่มีความโดดเด่น ได้แก่ คือ หอนางอุสา พระธาตุบัวบก และที่ภาพเขียนสี ถ้าวัว-ถ้าคน 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบทั้งหมด 8 ชิ้น คือ เสื้อยืด, เสื้อโปโล, เสื้อเชิ้ต, หมวกปีกรอบ, ผ้าเช็ดหน้า, กระเป๋าสะพายข้าง, พวงกุญแจ, สมุดบันทึก ซึ่งได้แรงบันดาลใจ มาจาก หอนางอุสา, พระธาตุบัวบก, ภาพเขียนสีที่ผนัง ถ้าวัว-ถ้าคน โดยนาเอารูปร่างรูปทรงมาตัดทอนมาเป็น แนวคิดในการออกแบบลวดลายกราฟิก โดยการนามาตัดทอนประยุกต์กับสไตล์ socialist realism และโทนสี น้าตาล แดงเลือดหมู 3) จากการสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว รูปแบบ ของลายกราฟิกโดยรวมมี ความเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย 4.29) ภาพเขียนสีผนัง ถ้าวัว-ถ้าคนมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26) ความเหมาะสมของหอนางอุสาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26) พระธาตุบัวบกมีความเหมาะสมใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.19)
Description: การประชุมวิชาการสาหรับนักศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 (The 1st FIT SSRU Conference 2018)
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1389
Date: 2019-01-23


Files in this item

Files Size Format View
12.โครงการออกแบ ... พระบาท จังหวัดอุดรธานี.pdf 1.345Mb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account