Title:
|
การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตดุสิต |
Author:
|
หนูนาค, ทัศนีย์
|
Abstract:
|
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูนามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในสถานศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตดุสิต เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูภาษาไทย จานวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย โดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และนาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในลักษณะตารางประกอบความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครูภาษาไทยนามาใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มากที่สุด คือขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และศาสนา ประเภทขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และศาสนา คือ เรื่องการไหว้ครู และประเภทภาษาและวรรณกรรมเรื่องนิทานพื้นบ้าน โดยทั้ง 2 เรื่อง นามาใช้กับสาระวรรณคดีและวรรณกรรม ทั้งนี้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้น้อยที่สุด คือ ประเภทศิลปกรรมและโบราณคดี
2. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ ด้านการวางแผนการสอนครูภาษาไทยส่วนใหญ่สารวจและรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการศึกษาจากเอกสาร หนังสือ ตารา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นาภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาหลักสูตร จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ เตรียมสื่อการเรียนการสอนและประเมิน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูภาษาไทยส่วนใหญ่ใช้ในขั้นสอน โดยจัดกิจกรรมในลักษณะยกตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนรักและเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน ด้านการใช้สื่อครูภาษาไทยส่วนใหญ่ผลิตสื่อประเภทเอกสารหรือตารา ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ครูใช้แบบประเมินผลคุณภาพของการปฏิบัติภาระงาน/ชิ้นงาน จากการนาเสนอผลการค้นคว้าของนักเรียน
3. ปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในแต่ละด้าน มีดังนี้ ด้านการวางแผนการสอน พบว่า ครูไม่มีเวลาในการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนาภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อมีไม่เพียงพอ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน พบว่า ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวัดและประเมินผล |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/194
|
Date:
|
2015-06-20 |