การปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อป้องกันการบุกรุกของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

DSpace/Manakin Repository

การปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อป้องกันการบุกรุกของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Show full item record

Title: การปรับปรุงพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อป้องกันการบุกรุกของกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมือง ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Author: หมั่นคติธรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วินัย
Abstract: ในการชุมนุมทางการเมืองแต่ละครั้งนั้น มักจะเกิดการปะทะกันของกลุ่มเจ้าหน้าที่และผู้ ชุมนุม มีการปิดล้อมพื้นที่ทางราชการ เป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมเข้าบุกรุกพื้นที่สำคัญได้ งานวิจัยฉบับนี้จึง มุ่งเน้นที่จะศึกษาแนวทางการออกแบบลักษณะทางกายภาพที่สามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ป้องกัน ได้อย่างถาวรและไม่ใช่การแก้ไขจากปลายเหตุ โดยใช้กรณีศึกษาของพื้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เ0นื่ องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกจากผู้ชุมนุมและเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปิด ล้อมพื้นที่ของกลุ่ม กปปส. ในปี0พ.ศ. 2556 - 2557 ที่ผ่านมา ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งที่จะศึกษาขอบเขตพื้นที่และลักษณะกายภาพของพื้นที่ ภายนอกอาคาร ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่ามี พื้นที่วิกฤตและเสี่ยงต่อการถูกบุกรุกจาก บุคคลภายนอกบริเวณพื้นที่ใดบ้าง และจะวิเคราะห์ถึงถึงวิธีการและรูปแบบการบุกรุกสถานที่และ อาคารราชการหลาย ๆ แห่งของผู้ชุมนุม ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์และออกแบบเพื่อ แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม รวมถึงจะเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพี้นที่ภายนอกอาคารของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเน้นถึงการป้องกันการบุกรุกจากผู้ชุมนุมและสามารถดำเนินการได้ตาม สภาพแวดล้อมจริง ในขั้นตอนการวิจัยจะใช้วิธีการวิจัยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการ สมั ภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อหาข้อเท็จจริงเชิงลึก จากนั้นจึงนำผลทั้งสองวิธี มา ประมวลผลและสรุป ในการศึกษานี้จะใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Methods Research) รวมถึงสอบถามผู้ดูแล พื้นที่ ทั้งนี้ได้0 ทั้งนี้การวิเคราะห์ทั้ง 3 เรื่องนี้จะมองในมุมมองของรูปด้านอาคาร รวมถึงปัญหาของการ เข้าถึงพื้นที่และระบบเส้นทางการสัญจรภายในทั้งยานพาหนะและทางเท้า ประกอบร่วมกันเพื่อให้ การวิเคราะห์หาปัญหามีความครอบคลุมจนนำไปสู่ขั้นตอนที่สำคัญ ผลการวิจัยพบว่า อาคารผู้ป่วย จำนวน 12 อาคาร 0ที่กำหนดเป็นอาคารที่ใช้ศึกษานั้น มีปัญหาลักษณะ กายภาพอาคาร ซึ่งสามารถสรุปปัญหาออกเป็น 3 เรื่องย่อย ได้แก่ 1) เรื่องแนวรั้วและการเข้าถึง 2) เรื่องรัศมีภูมิทัศน์ 5 เมตร และสุดท้าย 3)เรื่องลักษณะกายภาพชั้นล่างและวัสดุผิวอาคาร 0ส่วนปัญหา (2) อีกด้านได้แก่ ปัญหาเส้นทางการเข้าถึงและเส้นทางสัญจรภายในพื้นที่ สำหรับการเก็บข้อมูลแบบ สัมภาษณ์เชิงลึกนั้นได้ศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ดูแลพื้นที่ จำนวน 5 คน ผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถสรุปผลได้ดังต่อไป 1.การแก้ปัญหาแนวรั้วและการเข้าถึงอาคาร โดยรั้วเดิมมีลักษณะที่ดีอยู่แล้วแต่ควรเพิ่มแนว ไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านเยอะ หรือมีหนาม เพื่อให้เกิดอุปสรรคในการปีนป่ายที่ยากลำบากขึ้น สำหรับการ เข้าถึงตัวอาคารทาช่องเปิดต่าง ๆ ควรมีการสร้างระแนงไม้หรือเหล็กที่มีความแข็งแรง คงทน และให้ กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมปิดกั้นด้านนอก 2.การแก้ปัญหารัศมี ภูมิทัศน์ 5 เมตร ต้นไม้ใหญ่โดยรอบควรมีการเพิ่มพืชที่เกาะลำต้นไม้ ใหญ่ และมีหนาม เช่นต้นหนาวแน่ขาว และริบกิ่งล่าง ๆ ทิ้ง เพื่อให้ใช้เป็นที่เกี่ยวหรือแขวนอะไรทั้งสิ้น 3.การแก้ไขปัญหากายภาพชั้นล่างและผิวอาคารที่เป็นช่องเปิด ควรติดฟิลม์นิรภัย รวมทั้งเพิ่ม ระแนงไม้หรือเหล็ก 4.การแก้ปัญหาทางสัญจรทางรถ ควรมีแนวเส้นทางวิ่งและป้ายให้ชัดเจน รวมถึงการเพิ่ม สัญญาณไฟสีเหลือง ตามจุดที่มีการเสี่ยงภัยหรือจุดใช้ทางร่วมด้วยกัน สำหรับเส้นทางสัญจรของคน เดินเท้า ควรมีคีย์การ์ดในการเข้า-ออกอาคาร และบริเวณทางเดินควรมีแนวรั้วหรือราวป้องกันการปีน ป่ายเข้าสู่อาคาร ซึ่งแนวทางที่เสนอแนะนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการบุกรุกจากกลุ่มผู้เข้า ชุมนุม หรือกลุ่มอาชญากรได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/793
Date: 2018-10-02


Files in this item

Files Size Format View Description
0.ปก.pdf 85.95Kb PDF View/Open ปก
1.บทคัดย่อ.pdf 96.90Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
2.ABSTRACT.pdf 53.66Kb PDF View/Open Abstract
3.กิตติกรรมประกาศ.pdf 80.97Kb PDF View/Open กิติกรรมประกาศ
4.บทที่ 1.pdf 129.7Kb PDF View/Open บทที่1
5.บทที่ 2.pdf 1.191Mb PDF View/Open บทที่2
6.บทที่ 3.pdf 1.373Mb PDF View/Open บทที่3
7.บทที่ 4.pdf 6.841Mb PDF View/Open บทที่4
8.บทที่ 5.pdf 68.80Kb PDF View/Open บทที่5
9.บรรณานุกรม.pdf 49.40Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
10.ภาคผนวก.pdf 36.63Kb PDF View/Open ภาคผนวก
11.ประวัติผู้ทำรายงานวิจัย.pdf 115.3Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account